วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

วันพฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 – 12:20น.

การนำเสนอบทความ   

                                          





 ความรู้ที่ได้รับจากบทความ

-ส่งเสริมการทำกิจกรรมในบ้าน ให้ พ่อ แม่ มีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ให้บุตรหลานด้วย

-สอนเด็กในเรื่องธรรมชาติ การดูแลรักษา สัตว์ป่าและธรรมชาติรอบตัว

-ทราบแนวการสอนแบบบูรณาการ เพื่อส่งเสริมและพัฒนาเด็กในด้านต่างๆ
 

การเรียนการสอน

                                                      การประดิษฐ์กระดาษภาพหมุน 2 มิติ
                                   





วิธีการทำสื่อ 

1.ตัดกระดาษเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยตัดเป็น 1 ส่วน 4 ของกระดาษ A4

 2.พับครึ่งกระดาษเพื่อที่จะได้วาดรูป ตามความสนใจ

 3.วาดภาพตามความสนใจที่สัมพันธ์กันลงไปทั้งสองด้านของกระดาษ

 4.ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นติดไว้ที่กึ่งกลางกระดาษแล้วเอาเทปกาวแปะให้แน่น จากนั้นก็นำเทปกาวมาแปะตรงมุมขอบกระดาษเพื่อที่จะได้ไม่หลุดเวลาหมุน

5.เมื่อหมุนจะเกิดรูปภาพที่สัมพันธ์กัน
 

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

-ฝึกทักษะการสังเกต ทั้งของครูและของนักนักเรียน

-สังเกต การลองถูกลองผิดขณะที่วาดรูปและหมุนภาพจะไม่สัมพันธ์ เด็กจะทำใหม่ให้ดีกว่าอีกครั้ง

-สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาอื่นได้

 

การประเมินการเรียนการสอน

การประเมินตนเอง

 -เข้าเรียนตรงต่อเวลา, แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

 -ทำกิจกรรมที่ครูสอนได้และหาคำตอบของสื่อที่ทำว่าสอนคล้องในเรื่องใด

-จดบันทึกความรู้จากที่เพื่อนนำเสนอ และครูสอนได้

การประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา

 -ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนองาน

-สนุกสนานในขณะที่ทำกิจกรรม กระดาษหมุน

การประเมินครูผู้สอน

 -เข้าสอนตรงต่อเวลา, พูดจาไพเราะ ให้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน และเข้าใจ

 -สอนการทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้ได้ และใช้ได้จริง

-มีคำถามเพื่อทดสอบทักษะการคิดของนักเรียนด้วย

วันศุกร์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทินครั้งที่ 4

วันพฤหัสบดี ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:3012:20น.

การนำเสนอบทความ

 


ความรู้ที่ได้รับจากบทความ

 -รู้แนวทางในการจัดหลักสูตรวิทยาศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

-รู้แนวทางในการสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย

-ได้รู้กรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

การเรียนการสอน

 



ความรู้ที่ได้รับจากการเรียน

 -เด็กจะเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยการสังเกต

-ทราบว่าเด็กแต่ละคนมีการแสวงหาความรู้ด้วยเทคนิคที่แตกต่าง โดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

 -ทราบแนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์

 

การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้

-ควรจัดกิจกรรมให้เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5

-จัดการเรียนการสอน โดยให้เด็กได้เรียนรู้ในสิ่งรอบตัวเด็กก่อน

-นำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการกระบวนการสอนของตนต่อไป

 

การประเมินการเรียนการสอน

การประเมินตนเอง

 -เข้าเรียนตรงต่อเวลา, แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

 -สนใจและสามารถตอบคำถามครูได้หลังจากที่เพื่อนนำเสนอบทความจบ

-จดบันทึกความรู้จากที่เพื่อนนำเสนอ และครูสอนได้

การประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา

 -ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนองาน

-คุยกันบ้างบางคน ขณะที่ครูกำลังสอน

การประเมินครูผู้สอน

 -เข้าสอนตรงต่อเวลา, พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน

 -ให้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน และเข้าใจ

-มีคำถามเพื่อทดสอบทักษะการคิดของนักเรียนด้วย
                     



วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทินครั้งที่ 3

วันพฤหัสบดี ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:00 .

 





ความรู้ที่ได้รับ



การนำไปใช้

1.การจัดกิจกรรมให้เด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการให้ครบทุกด้าน

2.การจัดกิจกรรมต้องมีความสมดุล เน้นเด็กเป็นสำคัญ

3.ให้ครอบครัวเด็ก และชุมชน มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมให้เด็กด้วย


การประเมินการเรียนการสอน
การประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา, แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
-สนใจและสามารถตอบคำถามครูได้หลังจากที่ครูสอนเสร็จ
-จดบันทึกความรู้จากที่ครูสอนได้อย่างละเอียด

การประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา
-ตั้งใจเรียน และคุยกันบ้างบางคน ขณะที่ครูกำลังสอน
การประเมินครูผู้สอน
-เข้าสอนตรงต่อเวลา, พูดจาไพเราะ อ่อนหวาน
-ให้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน และเข้าใจ
-มีคำถามเพื่อทดสอบทักษะการคิดของนักเรียนด้วย
-มีเทคนิคในการพูดกับนักเรียน



                                              

วันศุกร์ที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557



                                 
บันทึกอนุทินครั้งที่ 2

วันพฤหัสบดี ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:00 .

 

** วันนี้ไม่ได้เข้าเรียน เนื่องจากไปสอบสัมภาษณ์ กยศ.   และดิฉันได้สรุปการเรียนการสอนจาก เพื่อน จึงได้ความรู้ดังนี้

      ความกล้าแสดงออก ทำให้เด็กเกิดความคิดสร้างสรรค์เด็กปฐมวัย

 1.พฤติกรรม = พัฒนาการ

 2.การเรียนรู้ หรือ การเล่น

 3.การอบรมเลี้ยงดู


สติปัญญา แบ่งได้ดังนี้

 - ความคิด เช่น  ความคิดเชิงเหตุผล เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์  และ ความคิดเชิงสร้างสรรค์

  - การใช้ภาษา

พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สติปัญญา ภาษา

สามารถบอกความสามารถของเด็ก เพื่อจัดประสบการณ์ให้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก พัฒนาการจะเปลี่ยนแปลงไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง

พัฒนาการทางด้านสติปัญญา

 การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 การรับรู้ การซึมซับ

 การเรียนรู้ = การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเพื่อการมีชีวิตรอดในสังคม

 รับรู้ = ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

                 วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ คือ การเล่น

 การเล่น คือ การที่เด็กลงมือกระทำด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ที่สำคัญคือเด็กได้มีโอกาสเลือกเล่นด้วยตนเอง

 การจัดการเรียนการสอน การออกแบบกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเรียนรู้

ความหมายของวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัว ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด ซึ่งสะท้อนให้เห็นจากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้ อยากเห็น ช่างสังเกต และคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ จะช่วยเชื่อมโยงเซลล์สมองของเด็ก เพราะส่งเสริมให้เด็กได้คิดเป็นการเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้ได้มากขึ้นในวัยที่สูงขึ้น


สรุป วิทยาศาสตร์คือ สิ่งที่อยู่รอบๆตัว

 ถ้าผู้ใหญ่ไม่เข้าใจธรรมชาติเด็ก

 จะเกิดการปิดกั้นการเรียนรู้ของเด็ก

 ไม่สนใจการค้นพบของเด็ก

 ไม่จัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้เด็ก

การนำไปประยุกต์ใช้

   การออกแบบกิจกรรมที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ของเด็กเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

   การจัดประสบการณ์ที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก เพราะเด็กจะได้มีพัฒนาการที่เหมาะสมตามวัย

                                                        
                                               

                                              
บันทึกอนุทินครั้งที่ 1

วันพฤหัสบดี ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:00 .

       ความรู้ที่ได้รับในวันนี้จากเพื่อน เนื่องจากข้าพเจ้าไม่สบายมาเรียนไม่ได้ จึงได้สอบถามเพื่อนๆที่เรียนด้วยกันว่าอาจารย์ได้ให้ความรู้อะไรบ้าง

อาจารย์ได้อธิบายแนวการสอน, ผลลัพธ์การเรียนรู้ แบ่งเป็น 6 ด้าน ได้แก่

 -ด้านคุณธรรมจริยธรรม                 

 -ด้านความรู้

 -ด้านทักษะทางปัญญา

 -ด้านทักษะความสามารถระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ

 -ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

 -ด้านการจัดการเรียนรู้


            ** ข้อมูลในการบันทึกการเรียน ได้แก่ เนื้อหาที่เรียน และการนำไปประยุกต์ใช้ **

 

      องค์ประกอบของบล็อก ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้

          1. ชื่อ และคำอธิบายบล็อก  

          2. รูป และข้อมูลผู้เรียน

          3. ปฏิทิน และนาฬิกา
          4. เชื่อโยงบล็อก

                - อาจารย์ผู้สอน

                -หน่วยงานสนับสนุน

                -แนวการสอน

                - งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์

                - บทความ

                 - เพลง

                - สื่อ (เพลง, เกม, นิทาน, แบบฝึกหัด, ของเล่น)

                - สถิติผู้เข้าชม

                - รายชื่อเพื่อน

                                   ** ให้นักศึกษาพิมพ์หัวข้อเป็นภาษาอังกฤษ **

 

     การนำไปประยุกต์ใช้ 

-สามารถนำวิธีการทำบล็อก การใส่องค์ประกอบต่างๆของบล็อก ไปใช้ในการบันทึกความรู้ หรือข้อมูลต่างๆ  

-สามารถนำความรู้ไปใช้ในรายวิชาอื่นได้

-สามารถนำทักษะภาษาอังกฤษมาใช้ในการศึกษาได้