วันอาทิตย์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทินครั้งที่ 16

วันพฤหัสบดี ที่ 4 ธันวาคม  พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้เป็นการเรียนการสอนเพื่อสรุปองค์ความรู้ที่ได้เรียนมาทั้งหมดและเป็นการนำเสนองานวิจัยสำหรับเพื่อนที่ไม่ได้นำเสนอครั้งก่อน และวันนี้ได้ทำกิจกรรม แผ่นพับประชาสัมพันธ์เพื่อขอความอนุเคราะห์หรือขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการสนับสนุนการทำกิจกรรมของเด็กปฐมวัย

 

การนำเสนองานวิจัย

เรื่อง การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้วิจัย            นวลักษณ์  บุญระชัยสวรรค์

          กิจกรรม ไข่หมุน

ทักษะทางวิทยาศาสตร์   การสังเกต

                                     การเปรียบเทียบ

 

กิจกรรมการทำแผ่นพับ

อาจารย์แนะนำการเขียนแผ่นให้ แนะนำในการใส่หัวข้อต่าง วัตถุประสงค์  เกร็ดหรือสาระน่ารู้  การขอความอนุเคราะห์ กิจกรรมหรือเกม  เพลง

 









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-ในการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ความวิทยาศาสตร์สามารถจัดให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกิจกรรมของเด็กได้โดยดารขอความอนุเคราะห์ขออุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ

-การจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หากมีการทำกิจกรรม cooking ครูสามารถบอกให้เด็กเตรียมอุปกรณ์มาช่วยกันทำได้

-การบอกเด็กให้นำอุปกรณ์มา จะต้องบอกทุกคนเพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมด้วยกัน และครูต้องกำหนดให้เด็กเอามาเองโดยไม่ซ้ำกันมากเกินไป และของบางอย่างครูก็ควรจะหามาเองบ้าง

 

การประเมินการเรียนการสอน

การประเมินตนเอง

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา ให้ความสนใจในการนำเสนองานวิจัยของเพื่อนเป็นอย่างดี และมีส่วนร่วมในการการทำกิจกรรม ทำแผ่นพับได้เป็นอย่างดี มีการเสนอแนวคิดในการทำกิจกรรมและช่วยเพื่อนในการวางแผน

การประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน ทำกิจกรรมแผ่นพับได้เป็นอย่างดี เพื่อนให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมของแต่ละกลุ่มเป็นอย่างดี มีการสนทนาวางแผนกัน

การประเมินครูผู้สอน

-ครูให้โอกาสเพื่อนคนที่ไม่มานำเสนองานวิจัยเป็นครั้งสุดท้าย และสอนนักศึกษาให้ทำแผ่นพับเพื่อของความอนุเคราะห์จากผู้ปกครองเด็ก ให้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม cooking ของเด็กปฐมวัยด้วย มีการแนะนำวิธีการเขียน และหัวข้อต่างๆ




 

วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557





บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย

ตอน ขุมทรัพย์ทะเลทราย

อุปกรณ์

            -เหยือกน้ำ

            -น้ำ

            -ดิน

            -ช้อน

            -ตะแกง
            -หิน
การจัดกิจกรรม

-ให้เด็กเทน้ำจากเหยือกน้ำ ลงในแก้ว 2ใบ แล้วถามเด็กว่า เด็กคิดว่าน้ำในแก้วสะอาดหรือไม่ เด็กก็ตอบว่าสะอาด

-นำดินขึ้นมา แล้วให้เด็กตักดินใส่ในน้ำ แล้วให้เด็กสันนิษฐานว่า จะเกิดอะไรขึ้น และเป็นไม่ตามที่สันนิษฐานไว้หรือไม่

-ครูถามเด็กว่าน้ำที่มีดินอยู่ มีลักษณะเป็นอย่างไร เด็กก็ตอบว่า เป็นสีดำ และสกปรกแล้วนำช้อนมาให้เด็กคนน้ำกับดินให้เข้ากัน

-ครูนำหินมาให้เด็กดูแล้วถามเด็กว่า หินที่เห็นมีลักษณะอย่างไร เด็กตอบว่า บางก้อนเล็ก บางก้อนใหญ่

-ครูให้เด็กเทน้ำสะอาดลงไปในก้อนหิน ทำความสะอาดก้อนหิน แล้วให้เด็กแยกขนาดของก้อนหินออกมาวางไว้ในถาด

-ครูนำแก้วขึ้นมาอีก 2 ใบ พร้อมกับตะแกง แล้วบอกเด็กว่าถ้านำก้อนหินมาวางบนตะแกงแล้วเทน้ำที่ผสมดินลงไป 1แก้ว จะเกิดอะไรขึ้น แล้วให้เด็กลองทำดู

-แก้วที่มีก้อนหินน้ำจะใสและสะอาด ส่วนแก้วที่ไม่ได้กรอง จะสกปรกเหมือนเดิม

 

สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนได้ สอนในเรื่องน้ำ

กิจกรรมนี้สามารถนำไปจัดทำที่บ้านได้ เนื่องจากขั้นตอนการทำง่ายและหาอุปกรณ์ง่าย

 


 






 ชื่อผลงานวิจัย    การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
                            (ด้านวิทยาศาสตร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ผู้วิจัย   นางธรารัตน์    เย็นใจราษฎร์
 
แนวคิด
 
1. การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม
 
2. ภาพประกอบและการใช้ภาษา
 
3. กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและวิทยาศาสตร์
 
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
 
5. การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม
 
วัตถุประสงค์
 
เพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย คือ
1. เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันในการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ใน กลุ่มวิชาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร 2. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติมสำหรับการเรียนการสอนวิชา สร้างเสริม
 ประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 3. เพื่อทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม สำหรับการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
 4. เพื่อ ประเมินหนังสืออ่านเพิ่มเติมสำหรับการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
 
ตัวแปรที่สนใจศึกษา
ได้แก่ สภาพปัจจุบันในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ความคิดเห็นของครูผู้สอน และนักเรียนเกี่ยวกับหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
 
 
กลุ่มตัวอย่าง
 
ขั้นที่ 1 การสำรวจสภาพปัจจุบันในการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ประชากร คือ ครูผู้สอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2541 จำนวน 433 คน
 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 141 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน
 ขั้นที่ 2 การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมและหาประสิทธิภาพ
 การตรวจสอบความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และความเหมาะสมของหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยผู้วิจัยได้ทดลองใช้กับกลุ่มขนาดเล็กโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาสันติภาพ อ.เมือง จ. กำแพงเพชร จำนวน 5 คน
 ขั้นที่ 3 การทดลองใช้
 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 9,518 คน
 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 ของโรงเรียนบ้านพรานกระต่าย อ. พานกระต่าย จ. กำแพงเพชร จำนวน 67 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน
 ขั้นที่ 4 การประเมินหนังสืออ่านเพิ่มเติม
 แหล่งข้อมูล คือ ครูผู้สอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 4 คน จากโรงเรียนที่ทำการทดลอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 32 คน
 
ข้อสรุป
 
ในขั้นตอนที่ 1 พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนบ่อยครั้ง และเนื้อหาที่ให้รายละเอียดไม่ชัดเจน มีรายละเอียดน้อย และต้องการให้มีหนังสืออ่านเพิ่มเติม คือ เรื่อง จักรวาลและอวกาศ ในด้านรูปแบบหนังสือ พบว่าครูผู้สอนต้องการให้มีขนาด รูปเล่ม 14 x 22 เซนติเมตร มีรูปเล่มที่มีคำบรรยายและรูปภาพอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของหนังสือ (พิมพ์หน้า-หลัง) แนวตั้ง หน้าปกควรเป็นภาพถ่ายสี กระดาษที่ใช้พิมพ์ควรเป็นกระดาษเนื้อด้านแข็ง ภาพประกอบภายในเล่มควรเป็นภาพถ่ายและภาพวาดรวมกัน มีความยาวของเนื้อเรื่อง 2030 หน้า และควรมีขนาดตัวอักษร 3 มิลลิเมตร (24 พอยท์)
ขั้นตอนที่ 2 พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีค่าความเหมาะสมด้านรูปแบบของหนังสืออ่านเพิ่มเติมอยู่ระหว่าง 0.801.00 ด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเนื้อหาของหนังสืออ่านเพิ่มเติมมีค่าความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.801.00 และนำไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 5 คน พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80/50 และมีประสิทธิภาพรวมทั้งสองชุดเท่ากับ 94.28/84.66
ขั้นตอนที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจักรวาลและอวกาศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
ขั้นตอนที่ 4 พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีความเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและคุณค่าที่ได้รับอยู่ในระดับมาก

 


                                  





วันจันทร์ที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2557



บันทักอนุทินครั้งที่ 15
 
วันพฤหัสบดี ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557


เรียนเวลา 08:30 12:20น.
 
ความรู้ที่ได้รับ
การนำเสนอวิจัย
 
การนำเสนอโทรทัศน์ครู


 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
-การที่ครูจะสอนวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กต้องดูก่อนว่า เนื้อหาที่จะสอนน่าสนใจมากน้อยเพียงใด เมื่อเด็กเรียนแล้วจะสนุกหรือไม่
-วิทยาศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นเรื่องไกล้ตัวหรือไกลตัว ก็สามารถนำมาสอนเด็กได้ เพื่อฝึกทักษะทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
 
การประเมินการเรียนการสอน
การประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา ตั้งใจเรียน จดบันทึกการนำเสนองานวิจัยและโทรทัสน์ครูได้เป็นอย่างดี
การประเมินเพื่อน
-มีความตั้งใจเรียนดี บางครั้งอาจจะพูดกันบ้างแต่เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียน คนที่ไม่เคยนั่งข้างหน้า ก็ลองมานั่งดูบ้างนะคะ ส่วนคนที่มาสายต้องปรับปรุงตัวเองด้วยนะคะ
การประเมินครูผู้สอน
-ครูให้คำแนะนำในการจับประเด็น จับใจความงานวิจัยเพื่อนนำมานำเสนอหน้าชั้น ให้เทคนิคการนำเสนอโทรทัศน์ครูได้เป็นอย่างดี