วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557






 ชื่อผลงานวิจัย    การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต
                            (ด้านวิทยาศาสตร์) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 
ผู้วิจัย   นางธรารัตน์    เย็นใจราษฎร์
 
แนวคิด
 
1. การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม
 
2. ภาพประกอบและการใช้ภาษา
 
3. กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตและวิทยาศาสตร์
 
4. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
 
5. การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติม
 
วัตถุประสงค์
 
เพื่อพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีวัตถุประสงค์ย่อย คือ
1. เพื่อสำรวจสภาพปัจจุบันในการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ ใน กลุ่มวิชาการสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร 2. เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพหนังสืออ่านเพิ่มเติมสำหรับการเรียนการสอนวิชา สร้างเสริม
 ประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 3. เพื่อทดลองใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม สำหรับการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
 4. เพื่อ ประเมินหนังสืออ่านเพิ่มเติมสำหรับการเรียนการสอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5
 
ตัวแปรที่สนใจศึกษา
ได้แก่ สภาพปัจจุบันในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ในกลุ่มวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ความคิดเห็นของครูผู้สอน และนักเรียนเกี่ยวกับหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
 
 
กลุ่มตัวอย่าง
 
ขั้นที่ 1 การสำรวจสภาพปัจจุบันในการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม
ประชากร คือ ครูผู้สอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ปีการศึกษา 2541 จำนวน 433 คน
 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูผู้สอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 141 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน
 ขั้นที่ 2 การพัฒนาหนังสืออ่านเพิ่มเติมและหาประสิทธิภาพ
 การตรวจสอบความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และความเหมาะสมของหนังสืออ่านเพิ่มเติม โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน และหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติมโดยผู้วิจัยได้ทดลองใช้กับกลุ่มขนาดเล็กโดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาสันติภาพ อ.เมือง จ. กำแพงเพชร จำนวน 5 คน
 ขั้นที่ 3 การทดลองใช้
 ประชากร คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 จำนวน 9,518 คน
 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2542 ของโรงเรียนบ้านพรานกระต่าย อ. พานกระต่าย จ. กำแพงเพชร จำนวน 67 คน จากการสุ่มหลายขั้นตอน
 ขั้นที่ 4 การประเมินหนังสืออ่านเพิ่มเติม
 แหล่งข้อมูล คือ ครูผู้สอนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิตชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 4 คน จากโรงเรียนที่ทำการทดลอง และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 32 คน
 
ข้อสรุป
 
ในขั้นตอนที่ 1 พบว่า ครูผู้สอนส่วนใหญ่ใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมประกอบการเรียนการสอนบ่อยครั้ง และเนื้อหาที่ให้รายละเอียดไม่ชัดเจน มีรายละเอียดน้อย และต้องการให้มีหนังสืออ่านเพิ่มเติม คือ เรื่อง จักรวาลและอวกาศ ในด้านรูปแบบหนังสือ พบว่าครูผู้สอนต้องการให้มีขนาด รูปเล่ม 14 x 22 เซนติเมตร มีรูปเล่มที่มีคำบรรยายและรูปภาพอยู่ทางด้านซ้ายและด้านขวาของหนังสือ (พิมพ์หน้า-หลัง) แนวตั้ง หน้าปกควรเป็นภาพถ่ายสี กระดาษที่ใช้พิมพ์ควรเป็นกระดาษเนื้อด้านแข็ง ภาพประกอบภายในเล่มควรเป็นภาพถ่ายและภาพวาดรวมกัน มีความยาวของเนื้อเรื่อง 2030 หน้า และควรมีขนาดตัวอักษร 3 มิลลิเมตร (24 พอยท์)
ขั้นตอนที่ 2 พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีค่าความเหมาะสมด้านรูปแบบของหนังสืออ่านเพิ่มเติมอยู่ระหว่าง 0.801.00 ด้านความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเนื้อหาของหนังสืออ่านเพิ่มเติมมีค่าความเหมาะสมอยู่ระหว่าง 0.801.00 และนำไปทดลองใช้กับนักเรียน จำนวน 5 คน พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีประสิทธิภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐาน 80/50 และมีประสิทธิภาพรวมทั้งสองชุดเท่ากับ 94.28/84.66
ขั้นตอนที่ 3 พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เรื่องจักรวาลและอวกาศ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
ขั้นตอนที่ 4 พบว่า หนังสืออ่านเพิ่มเติมมีความเหมาะสมทั้งด้านรูปแบบและคุณค่าที่ได้รับอยู่ในระดับมาก

 


                                  





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น