วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทินครั้งที่ 14

วันพฤหัสบดี ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.

 

ความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอ สรุปงานวิจัย



ของเล่น / สื่อทางวิทยาศาสตร์

 
 




 

 

กิจกรรม Cooking (วาฟเฟิล)

 




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-สามารถนำกิจกรรมสร้างสรรค์ไปจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์

-สามารถนำกิจกรรมการเล่นตามมุม ไปจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์กับเด็กได้ เพื่อส่งเสริมทักษะทางวิทยาศาสตร์

-นำผลงานวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ได้

-กิจกรรม Cooking สามารถส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กได้

 

การประเมินการเรียนการสอน

การประเมินตนเอง

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา  จดบันทักการนำเสนองานวิจัยเพื่อนำมาปรับใช้ในการเรียนการสอนต่อไปในอนาคตได้ และเข้าร่วมในกิจกรรม Cooking กับเพื่อนได้

การประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา นำเสนองานวิจัยได้เป็นอย่างดี พูดจาฉะฉาน และจดบันทึกการนำเสนอของเพื่อนคนอื่นได้เป็นอย่างดี

การประเมินครูผู้สอน

-เวลาที่เพื่อนนำเสนองานวิจัยเสร็จ ครูให้คำแนะนำ และอธิบายเพิ่มเติม เพื่อเป็นแนวทางในการเรียนการสอนต่อไป และครูเตรียมอุปกรณ์การทำ Cooking เพื่อให้นักศึกษาร่วมทำกิจกรรมกัน

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทินครั้งที่ 13

วันพฤหัสบดี ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.

 

ความรู้ที่ได้รับ

จากการสรุปวิจัย ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

-การสอนศิลปะสร้างสรรค์ ช่วยส่งเสริมกรบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ เด็กได้ทักษะมากมาย
-การเล่านิทาน นอกจากจะเป็นการผ่อนคลายความเครียด เป็นการสอนคุณธรรมจริยธรรมแล้ว ยังช่วยให้เด็กได้มีทักษะทางวิทยาศาสตร์ด้ว
-การจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อส่งเสริมทักษะและกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จะเห็นได้ว่า ก่อนทำกิจกรรม และหลังทำกิจกรรม เด็กมีพัฒนาการที่ดีขึ้น


การประเมินการเรียนการสอน
การประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา ฟังและจดบันทึกข้อความรู้จากที่เพื่อนสรุปงานวิจัยได้ดี  และจดบันทึกคำแนะนำที่ครูบอกเพื่อน เพื่อนนำมาปรับปรุงและพัฒนาตนเองในครั้งต่อไป

การประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงต่อเวลา  สำหรับเพื่อนที่จำนำเสนอผลงานวิจัย มีการเตรียมเนื้อหามาดีทุกคน  เวลาที่ครูถามเพื่อนบางคนอาจจะตอบไม่ได้ เช่น มีมิติสัมพันธ์กันอย่างไร เพื่อนต้องไปหาคำตอบมาเพื่อนสรุปให้เพื่อนๆฟังอีกครั้ง

การประเมินครูผู้สอน
-ให้คำแนะนำในการนำเสนอผลงานวิจัย และเมื่อฟังเพื่อนนำเสนองานวิจัยแล้ว ครูจะมีคำถามเพื่อนทบทวนและถามความเข้าใจว่า เราเข้าใจในงานวิจัยมากน้อยเพียงใด และผู้เรียนจะเกิดทักษะอย่างไรในวิจัยแต่ละเรื่อง

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทินครั้งที่ 12

วันพฤหัสบดี ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.

ความรู้ที่ได้รับ

กลุ่มที่ 1 ชนิดของกล้วย

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ   นำด้วยเพลง ( กล้วยหวานหวานมีหลากหลายนานา ใครบอกครูได้หนา ว่ามีกล้วยอะไร) แล้วหยุดให้เด็กตอบ  การที่ให้เด็กร่วมตอบคำถาม เป็นการเชื่อมโยงความรู้เดิมของเด็กด้วย

ขั้นสอน  มีภาพกล้วยมาให้เด็กดู แล้วถามว่ากล้วยที่เห็น เป็นกล้วยชนิดไหน ให้เด็กยกมือตอบ แล้วถามเด็กว่า วันนี้เรามีกล้วยกี่หวี  ถ้าเด็กยกมือตอบ ให้เด็กนำเลกฮินดูอารบิกที่อยู่บนโต๊ะมาแปะเอาไว้

เกณฑ์ที่ใช้ คือการจำแนกประเภท

-การเปรียบเทียบมากกว่า น้อยกว่า

-ดูรูปทรง

-การจำแนกสีเหลืองกับสีที่ไม่ใช่สีเหลือง

-จำแนกกล้วยน้ำหว้ากับกล้วยชนิดอื่น

คำแนะนำเพิ่มเติม   ควรนำกล้วย ที่เป็นของจริงมาสอน
 

กลุ่มที่ 2 ลักษณะของไก่

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ  มีรูปไก่มาให้เด็กดู  มีลักษณะต่างๆให้เด็กดูด้วย มีสีอะไรบ้าง มีขนาดของไก่มาให้เด็กดู

ขั้นสอน  มีภาพไก่แจ้ กับไก่ต้อกมาให้เด็กดู แล้วถามเด็กว่า  ภาพสองภาพ เหมือนกันอย่างไร  และภาพสองภาพต่างกันอย่างไร  แล้วมีวงกลม แสดงความเหมือน ต่าง แล้วความสัมพันธ์ของไก่ทั้งสองชนิด

วัตถุประสงค์ในการจัดกิจกรรม

-เด็กบอกลักษณะของไก่แจ้กับไก่ต้อกได้

-เด็กเปรียบเทียบไก่แจ้กับไก่ต้อกได้

-เด็กหาความสัมพันธ์ของไก่ทั้งสองชนิดได้

คำแนะนำเพิ่มเติม  อาจจะนำจิ้กซอร์มาให้เด็กได้ต่อภาพ

 

กลุ่มที่ 3วัฎจักรของกบ

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ เปิดวิดีโอ วงจรชีวิตของกบ การดำรงชีวิตของกบ และกบจำศีลให้เด็กดู เมื่อดูวีดีโอจบ ครูถามเด็ก เพื่อทบทวนความรู้จากวีดีโอที่ได้ดู

ขั้นสอน  ครูถามเด็กว่า กบมีสีอะไรบ้าง  อาศัยอยู่ที่ไหน กบจำศีลเมื่อไหร่  แล้วครูสรุปวัฏจักรของกบร่วมกับเด็ก

คำแนะนำเพิ่มเติม  เปลี่ยนจากเปิดวีดีโอ เป็นการร้องเพลงให้เด็กดูด้วย แล้วให้เด็กร้องร่วมกัน

 

กลุ่มที่ 4 ประโยชน์และข้อพึงระวังของปลา

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ เป็นการเล่านิทานเกี่ยวกับประโยชน์และข้อพึงระวังของปลาให้เด็กฟัง แล้วถามเด็กว่า จากนิทาน ปลามีประโยชน์อะไรบ้าง

ขั้นสอน นำตารางมาเปรียบเทียบ ประโยชน์ และข้องพึงระวังของปลา แล้วถามเด็กว่า นอกเหนือจากประโยชน์และข้อจำกัดของปลาในนิทานแล้ว เด็กรู้จักอะไรอีกบ้าง แล้วเขียนใส่กระดาษ แล้วนำไปแปะไว้ที่ตารางเปรียบเทียบ

ขั้นสรุป  -สรุปถึงประโยชน์และการรับประทานอาหารที่ทำจากปลา

              -สรุปถึงข้อพึงระวังและการเลี้ยงดูปลา

คำแนะนำเพิ่มเติม  การเล่านิทาน อาจใช้คำถาม ถามเด็กด้วย เพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วม

 

กลุ่มที่ 5 ทาโกยากิจากข้าว

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ  ครูมีอุปกรณ์ต่างๆวางอยู่บนโต๊ะ แล้วถามเด็กว่านี่คืออะไร  ให้เด็กลองทายว่าครูจะทำอะไร แล้วนำเข้าสู่บทเรียน

ขั้นสอน ครูสาธิตการทำอาหารให้เด็กดูแล้วขอตัวแทนเด็กมาช่วยครูทำ ให้เด็กทำหรือช่วยเตรียมอุปกรณ์ง่ายๆ แล้วนำเข้าเตา ให้เด็กสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลง

ขั้นสรุป กล่าวถึงประโยชน์ของข้าวว่านอกจากกินสุกแล้ว สามารถนำมาประกอบอาหารอย่างอื่นได้และสามารถปรุงรถชาติให้อร่อยได้

 

กลุ่มที่ 6 ชนิดของต้นไม้

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ  ครูกล่าวกลอน หรือคำคล้องจอง เกี่ยวกับชนิดของข้าว แล้วถามเด็กว่า จากคำคล้องจองมีต้นไม้อะไรบ้าง

ขั้นสอน ครูถามเด็กว่า นอกจากต้นไม้ที่กล่าวมา เด็กรู้จักต้นไม้อะไรบ้าง  แล้วครูก็นำแผ่นภาพมาให้เด็กดู

เกณฑ์ที่ใช้  เกณฑ์การจำแนก

-การจำแนกต้นเข็มและต้นไม้ชนิดอื่น

-การนับจำนวน และการบอกค่า มาก น้อย

 

กลุ่มที่ 7 ลักษณะของนม

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ ร้องเพลง ดื่มนมกันเถอะ และเป็นการเตรียมอุปกรณ์สำหรับทำการทดลองให้เด็กดู แล้วถามเด็กว่ามีอะไรวางอยู่บนโต๊ะ

ขั้นสอน

ทำการทดลอง – หยดน้ำยาล้างจานลงไปในนม  และสีผสมอาหาร

ผลการทดลอง น้ำยาล้างจานกับนม เกิดฟอง   นมเปลี่ยนสีตามสีผสมอาหาร

การนำตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่านมที่ได้จากสัตว์และพืช

ขั้นสรุป นมที่ได้จากพืช มีไขมันมากกว่า นมที่ได้จากสัตว์

 

กลุ่มที่ 8 อนุรักษ์น้ำ

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ ร้องเพลง อย่าทิ้ง ครั้งแรกครูร้องให้เด็กฟัง แล้วครั้งต่อ ให้เด็กร้องร่วมกันกับครู

ขั้นสอน เป็นการเล่านิทาน  ในนิทาน โดยในนิทาน กล่าวถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติ การอนุรักษ์น้ำ  เมื่อเล่าเสร็จ ครูจัดกิจกรรมศิลปะ ให้เด็กได้ทำกัน

ขั้นสรุป สรุปถึงการดูแลอนุรักษ์แม่น้ำให้เด็กฟัง

 

กลุ่มที่ 9 การปลูกมะพร้าว

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ  ร้องเพลงเกี่ยวกับมะพร้าว แล้วเล่านิทานการปลูกมะพร้าวให้เด็กฟังแล้วถามเด็กว่า มะพร้าวในนิทาน ปลูกจากที่ไหน

ขั้นสอน ครูบอกถีงการปลูกต้มมะพร้าว และขั้นตอนสำหรับการปลูกมะพร้าวให้เด็กฟัง แล้วนำแผ่นภาพมาให้เด็กเรียงลำดับขั้นตอนของการปลูกมะพร้าว

ขั้นสรุป สรุปถึงการเลือดินสำหรับการปลูกต้นมะพร้าว และการดูแลรักษา

 

กลุ่มที่ 10 ผลไม้ผัดเนย

การจัดกิจกรรม

ขั้นนำ นำเด็กด้วยการร้องเพลง ผลไม้ แล้วถามเด็กว่า เด็กรู้จักผลไม้อะไรบ้าง แล้วให้เด็กยกมือตอบคำถาม

ขั้นสอน  เป็นการประกอบอาหาร โดยครูเตรียมอุปกรณ์ และส่วนผสมต่างๆมาแล้ว ครูของตัวแทนเด็กมาช่วยในการทำ ขณะทำก็กล่าวถึงขั้นตอนในการทำให้เด็กฟังด้วย โดยแบ่งให้เด็กทำเป็นโต๊ะต่างๆ และให้เด็กสังเกตการณ์เปลียนแปลงของผลไม้เมื่อผสมกับเนยที่อยู่ในกระทะร้อน

ขั้นสรุป กล่าวถึงผลไม้ นอกจากจะทานผลดิบ หรือผลสุกแล้ว สามารถนำมาปรุงรสชาติก็ได้

 

การนำความรู้ไปใช้

-การจัดการเรียนการสอน หรือทำการทดลองอะไร ครูขอความร่วมมือกับเด็กด้วยเพื่อให้เด็กได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม

-กิจกรรมใดที่มีการทดลอง หรือมีอุปกรณ์ที่หายาก ครูของความร่วมมือกับเด็ก โดยให้เด็กร่วมเอาอุปกรณ์เตรียมมาด้วย

-สื่อสำหรับจัดการเรียนการสอน ควรจะเป็นสื่อของจริง เด็กจะได้สัมผัสพื้นผิว ของสื่อนั้นด้วย

-ควรมีคำพูดของครู ควรจะกระตุ้นให้เด็กสนใจ และมีคำถามที่จะเชื่อมโยงความรู้ให้กับเด็ก

 

การประเมินการเรียนการสอน

การประเมินตนเอง

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา มีความตั้งใจการจัดการเรียนการสอนของเพื่อน พอถึงของตนเองนำเสนอแผนการสอน รู้สึกตื่นเต้น พอเข้าไปสอนจริง รู้สึกสอนไม่ค่อยเต็มที่ กลัวว่าจะสอนผิด แต่ตั้งใจสอนมาก

การประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่มีบางคนที่เข้าสาย สำหรับการนำเสนอแผนการสอน เพื่อนๆตั้งใจสอนมาก แต่งบางคนเขียนแผนไม่ค่อยตรงกับที่สอน อาจารย์ก็แนะนำแนวทางการสอนให้

การประเมินครูผู้สอน

-มีการอภิปรายถึงแนวทางการนำเสนอแผนการสอน และถามถีงการให้คำแนะนำ และเมื่อนำเสนอแผนการจัดการสอนเสร็จ ครูให้คำแนะนำ ขณะที่สอน และต้องให้เด็กมีส่วนร่วมในกิจกรรม

 

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557





บันทึกอนุทินครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดี ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์

กิจกรรมที่ 1  ดินน้ำมัน จม ลอย

อุปกรณ์   -ดินน้ำมัน

               -โหลใส .ใส่น้ำ

วิธีการเล่น 

-ครั้งแรก ปั้นดินน้ำมันเป็นวงกลม แล้วไปหย่อนในขวดโหลที่มีน้ำ ผลปรากฏว่า ดินน้ำมันจม

-ครั้งที่สอง  ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆ เมื่อปั้นแล้วให้เอาไปหย่อนลงในขวดโหลอันเดิม พอหย่อนแล้ว ผลปรากฏว่า บางก้อนจะจม บางก้อนจะลอย

สรุปได้ว่า การที่ปั้นดินน้ำมัน ให้มีแอ่ง และมีขอบที่สูงจะทำให้ดินน้ำมันลอยได้
    
 

กิจกรรมที่ 2 ดอกไม้บาน

อุปกรณ์  -กระดาษ 100 ปอนด์

               -กระดาษ A4

               -สี

              -กรรไกร

              -ขวดโหลใส่น้ำ

วิธีการเล่น

-ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้ตามต้องการ

-ระบายสีดอกไม้

-พับกระดาษเข้าหากัน

-นำกระดาษ 100 ปอนด์ ที่พับแล้วมาหย่อนลงในขวดโหลที่มีน้ำ ผลปรากฏว่า กระดาษที่โดนน้ำจะค่อยบานออกอย่าช้าๆ แลลอยน้ำได้

-นำกระดาษ A4 ที่พับแล้ว มาหย่อนลงในขวดโหลที่มีน้ำ ผลปรากฏว่า กระดาษจะบานอย่างเร็วและลอยได้ ทิ้งไว้สักพัก สีจะละลายออกมา

สรุปได้ว่า กระดาษที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน จะทำให้คืนสภาพต่างกันด้วย
 


 

กิจกรรมที่ 3 ใครไหลไกลกว่ากัน

อุปกรณ์  -ขวดน้ำ

               -น้ำ

วิธีการเล่น

-เจาะรูขวดน้ำ 3 ระดับ คือ บน กลาง ต่ำ

-นำเทปกาวมาปิดรูที่เจาะเอาไว้

-นำน้ำมาเทลงในขวดน้ำให้เต็ม  แล้วปิดผาเอาไว้

-เปิดรูบนสุด ผลปรากฏว่า น้ำไม่ไหล แล้วลองเปิดผาขวดน้ำ น้ำจะไหล สรุปได้ว่า การที่น้ำม่ไหล เพราะไม่มีแรงดันอากาศ

-เปิดรูตรงกลาง ผลปรากฏว่า น้ำไหล  แม้ปิดผาขวดน้ำ น้ำก็ยังไหล สรุปได้ว่า การที่เราเปิดหรือปิดผาขวดน้ำ น้ำยังไหลอยู่เป็นเพราะว่ามีอากาศอยู่ในขวด

-เปิดรูบน ผลปรากฏว่า น้ำไหล และไกลกว่า รูอื่น  สรุปได้ว่า การที่น้ำรูล่างไหลไกลสุด เนื่องจากมีแรงดันอากาศมากที่สุด

 

กิจกรรมที่ 4 น้ำสูง – ต่ำ

อุปกรณ์  -ขวดน้ำ

              -น้ำพุจำลอง

              -น้ำ

              -กรวย

              -สายยาง

วิธีการเล่น

-เทน้ำใส่ในขวด แล้ววางน้ำพุจำลองในระดับที่สูงกว่าขวดน้ำ ผลปรากฏว่า น้ำไม่ไหล

-วางขวดน้ำในระดับที่สูงกว่าน้ำพุ ผลปรากฏว่า น้ำจะไหลเล็กน้อย แต่ไม่สูงมาก

-วางขวดน้ำในระดับที่สูงกว่าน้ำพุ (จนสุดสายยาง) ผลปรากฏว่า น้ำจะไหลสูงมาก

สรุปได้ว่า น้ำจะไหลจากที่สูงลงจากที่ต่ำ แล้วจะมีแรงดันอากาศออกมากลายเป็นน้ำพุ

 

กิจกรรมที่ 5 แสงเทียนมหัศจรรย์

อุปกรณ์  -เทียนไข

               -ไม้ขีดไฟ

               -แก้วน้ำใส

วิธีการเล่น

-จุดเทียนไข

-นำแก้วน้ำมาครอบเทียบ ผลปรากฏว่า เทียนจะค่อยๆดับลง

-จุดเทียนไขขึ้นอีกครั้ง ผลปรากฏว่า ไฟติดแต่ไม่สูง และมีกลิ่นเหม็น

สรุปได้ว่า แก้วที่ครอบครั้งแรก จะทำให้ออกซิเจนหายไป จะทำให้ไฟดับ  เหตุการณ์นี้ มักจะเจอในที่ที่มีการเผาขยะ  และจะเจอขณะที่ไม่ดับเครื่องยนต์

 

กิจกรรมที่ 6 การแทนที่

อุปกรณ์  -เทียนไข

               -ไม้ขีดไฟ

               -แก้วน้ำใส

                -จาน

                -น้ำ

วิธีการเล่น

-จุดเทียนแล้วตั้งทิ้งไว้

-ใช้แก้วครอบเทียนเอาไว้

-เทน้ำลงไปในจาน

สรุปได้ว่า น้ำไหลเข้าไปในแก้ว ทำให้เทียนดับ เพราะเกิดการแทนที่ของน้ำ

 

กิจกรรมที่ 7 มุมมอง

อุปกรณ์ -แก้ว

              -ปากกา

              -น้ำ

วิธีการเล่น

-เทน้ำลงใส่แก้ว  แล้วนำปากกาวางลงในแก้ว

ผลปรากฏว่า

-ถ้ามองจากบนลงล่าง จะเห็นเหมือนปากกาหัก  เพราะการหักเหของแสงจากรอยตัดของระดับน้ำ

-มองจากข้างล่าง ปากกาจะขยายใหญ่ขึ้น

 

คำศัพท์วันนี้

-ดินน้ำมัน  Clay

-โหลน้ำใส    Flask

-กระดาษ Paper

-สี   Color

-กรรไกร Scissore

-น้ำ Weter

-น้ำพุจำลอง   Fountain

-กรวย  Cone

-สายยาง  Rubber tube

-เทียนไข  Cander

-ไม้ขีดไฟ  Match

-แก้วน้ำ  Glass

-จาน  Dish

-ปากกา  Pen

 

การนำความรู้ไปใช้

-การทดลองทางวิทยาศาสตร์ สามารถนำวัสดุที่มีอยู่ในในห้องมาทดลองได้

-การทดลองทางวิทยาศาสตร์ จะช่วยให้เด็กได้สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงขณะทำการทดลอง

-การทดลองทางวิทยาศาสตร์ ต้องให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กจึงจะเกิดความรู้

 

เทคนิคการสอนของครู

-การเชื่อมโยงความรู้เดิม เข้ากับความรู้ใหม่

-ขณะที่ทำกิจกรรม ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด

-หลังทำกิจกรรม ครูสรุปความรู้ให้กับเด็กและการนำไปใช้

 

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา  ทำกิจกรรมการทดลองร่วมกับเพื่อนทุกกิจกรรม รู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมที่ครูสอน เนื่องจากแปลก ไม่เคยทดลองด้วยตนเอง รู้สึกชอบกิจกรรมดอกไม้บานมาก ชอบตรงที่ดอกไม้บาน เป็นครั้งแรกที่ได้ทดลอง จะให้กิจกรรมต่างๆที่ครูสอน ให้เป็นประโยชน์

ประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา ทำกิจกรรมต่างได้ทุกกิจกรรม ได้มีการบันทึกภาพไว้ เพื่อเป็นข้อมูลในการทำการเรียนการสอนในอนาคต 

ประเมินครูผู้สอน

มีการเกริ่นนำก่อนการทำกิจกรรม เพื่อให้นักนักศึกษามีแนวทางในการสอนเด็ก และใช้คำถามเชื่อมโยง ก่อนการสอน ขณะทำกิจกรรม มีคำถามเพื่อฝึกทักษะการสังเกตของเด็ก และหลังทำกิจกรรมมีการสรุปความรู้ให้