บันทึกอนุทินครั้งที่ 11
วันพฤหัสบดี ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2557
เรียนเวลา 08:30 – 12:20น.
ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมการทดลองทางวิทยาศาสตร์
กิจกรรมที่
1 ดินน้ำมัน จม ลอย
อุปกรณ์
-ดินน้ำมัน
-โหลใส .ใส่น้ำ
วิธีการเล่น
-ครั้งแรก
ปั้นดินน้ำมันเป็นวงกลม แล้วไปหย่อนในขวดโหลที่มีน้ำ ผลปรากฏว่า
ดินน้ำมันจม
-ครั้งที่สอง ปั้นดินน้ำมันเป็นรูปทรงต่างๆ
เมื่อปั้นแล้วให้เอาไปหย่อนลงในขวดโหลอันเดิม พอหย่อนแล้ว ผลปรากฏว่า บางก้อนจะจม
บางก้อนจะลอย
สรุปได้ว่า การที่ปั้นดินน้ำมัน ให้มีแอ่ง
และมีขอบที่สูงจะทำให้ดินน้ำมันลอยได้
กิจกรรมที่
2 ดอกไม้บาน
อุปกรณ์
-กระดาษ 100 ปอนด์
-กระดาษ A4
-สี
-กรรไกร
-ขวดโหลใส่น้ำ
วิธีการเล่น
-ตัดกระดาษเป็นรูปดอกไม้ตามต้องการ
-ระบายสีดอกไม้
-พับกระดาษเข้าหากัน
-นำกระดาษ
100 ปอนด์ ที่พับแล้วมาหย่อนลงในขวดโหลที่มีน้ำ
ผลปรากฏว่า กระดาษที่โดนน้ำจะค่อยบานออกอย่าช้าๆ แลลอยน้ำได้
-นำกระดาษ
A4 ที่พับแล้ว
มาหย่อนลงในขวดโหลที่มีน้ำ ผลปรากฏว่า กระดาษจะบานอย่างเร็วและลอยได้
ทิ้งไว้สักพัก สีจะละลายออกมา
สรุปได้ว่า กระดาษที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน
จะทำให้คืนสภาพต่างกันด้วย
กิจกรรมที่
3 ใครไหลไกลกว่ากัน
อุปกรณ์
-ขวดน้ำ
-น้ำ
วิธีการเล่น
-เจาะรูขวดน้ำ
3 ระดับ คือ บน กลาง ต่ำ
-นำเทปกาวมาปิดรูที่เจาะเอาไว้
-นำน้ำมาเทลงในขวดน้ำให้เต็ม แล้วปิดผาเอาไว้
-เปิดรูบนสุด
ผลปรากฏว่า น้ำไม่ไหล แล้วลองเปิดผาขวดน้ำ น้ำจะไหล สรุปได้ว่า
การที่น้ำม่ไหล เพราะไม่มีแรงดันอากาศ
-เปิดรูตรงกลาง
ผลปรากฏว่า น้ำไหล แม้ปิดผาขวดน้ำ
น้ำก็ยังไหล สรุปได้ว่า การที่เราเปิดหรือปิดผาขวดน้ำ น้ำยังไหลอยู่เป็นเพราะว่ามีอากาศอยู่ในขวด
-เปิดรูบน
ผลปรากฏว่า น้ำไหล และไกลกว่า รูอื่น สรุปได้ว่า การที่น้ำรูล่างไหลไกลสุด
เนื่องจากมีแรงดันอากาศมากที่สุด
กิจกรรมที่
4 น้ำสูง – ต่ำ
อุปกรณ์ -ขวดน้ำ
-น้ำพุจำลอง
-น้ำ
-กรวย
-สายยาง
วิธีการเล่น
-เทน้ำใส่ในขวด
แล้ววางน้ำพุจำลองในระดับที่สูงกว่าขวดน้ำ ผลปรากฏว่า น้ำไม่ไหล
-วางขวดน้ำในระดับที่สูงกว่าน้ำพุ
ผลปรากฏว่า น้ำจะไหลเล็กน้อย แต่ไม่สูงมาก
-วางขวดน้ำในระดับที่สูงกว่าน้ำพุ
(จนสุดสายยาง) ผลปรากฏว่า น้ำจะไหลสูงมาก
สรุปได้ว่า น้ำจะไหลจากที่สูงลงจากที่ต่ำ
แล้วจะมีแรงดันอากาศออกมากลายเป็นน้ำพุ
กิจกรรมที่
5 แสงเทียนมหัศจรรย์
อุปกรณ์
-เทียนไข
-ไม้ขีดไฟ
-แก้วน้ำใส
วิธีการเล่น
-จุดเทียนไข
-นำแก้วน้ำมาครอบเทียบ
ผลปรากฏว่า เทียนจะค่อยๆดับลง
-จุดเทียนไขขึ้นอีกครั้ง
ผลปรากฏว่า ไฟติดแต่ไม่สูง และมีกลิ่นเหม็น
สรุปได้ว่า แก้วที่ครอบครั้งแรก
จะทำให้ออกซิเจนหายไป จะทำให้ไฟดับ เหตุการณ์นี้
มักจะเจอในที่ที่มีการเผาขยะ
และจะเจอขณะที่ไม่ดับเครื่องยนต์
กิจกรรมที่
6 การแทนที่
อุปกรณ์
-เทียนไข
-ไม้ขีดไฟ
-แก้วน้ำใส
-จาน
-น้ำ
วิธีการเล่น
-จุดเทียนแล้วตั้งทิ้งไว้
-ใช้แก้วครอบเทียนเอาไว้
-เทน้ำลงไปในจาน
สรุปได้ว่า น้ำไหลเข้าไปในแก้ว ทำให้เทียนดับ
เพราะเกิดการแทนที่ของน้ำ
กิจกรรมที่
7 มุมมอง
อุปกรณ์ -แก้ว
-ปากกา
-น้ำ
วิธีการเล่น
-เทน้ำลงใส่แก้ว แล้วนำปากกาวางลงในแก้ว
ผลปรากฏว่า
-ถ้ามองจากบนลงล่าง
จะเห็นเหมือนปากกาหัก
เพราะการหักเหของแสงจากรอยตัดของระดับน้ำ
-มองจากข้างล่าง
ปากกาจะขยายใหญ่ขึ้น
คำศัพท์วันนี้
-ดินน้ำมัน Clay
-โหลน้ำใส
Flask
-กระดาษ Paper
-สี
Color
-กรรไกร Scissore
-น้ำ Weter
-น้ำพุจำลอง
Fountain
-กรวย
Cone
-สายยาง
Rubber tube
-เทียนไข Cander
-ไม้ขีดไฟ Match
-แก้วน้ำ
Glass
-จาน Dish
-ปากกา
Pen
การนำความรู้ไปใช้
-การทดลองทางวิทยาศาสตร์
สามารถนำวัสดุที่มีอยู่ในในห้องมาทดลองได้
-การทดลองทางวิทยาศาสตร์
จะช่วยให้เด็กได้สังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงขณะทำการทดลอง
-การทดลองทางวิทยาศาสตร์
ต้องให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เด็กจึงจะเกิดความรู้
เทคนิคการสอนของครู
-การเชื่อมโยงความรู้เดิม
เข้ากับความรู้ใหม่
-ขณะที่ทำกิจกรรม
ใช้คำถามเพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ใช้ความคิด
-หลังทำกิจกรรม
ครูสรุปความรู้ให้กับเด็กและการนำไปใช้
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา
ทำกิจกรรมการทดลองร่วมกับเพื่อนทุกกิจกรรม
รู้สึกสนุกสนานกับกิจกรรมที่ครูสอน เนื่องจากแปลก ไม่เคยทดลองด้วยตนเอง
รู้สึกชอบกิจกรรมดอกไม้บานมาก ชอบตรงที่ดอกไม้บาน เป็นครั้งแรกที่ได้ทดลอง
จะให้กิจกรรมต่างๆที่ครูสอน ให้เป็นประโยชน์
ประเมินเพื่อน
-เข้าเรียนตรงต่อเวลา
ทำกิจกรรมต่างได้ทุกกิจกรรม ได้มีการบันทึกภาพไว้
เพื่อเป็นข้อมูลในการทำการเรียนการสอนในอนาคต
ประเมินครูผู้สอน
มีการเกริ่นนำก่อนการทำกิจกรรม
เพื่อให้นักนักศึกษามีแนวทางในการสอนเด็ก และใช้คำถามเชื่อมโยง ก่อนการสอน
ขณะทำกิจกรรม มีคำถามเพื่อฝึกทักษะการสังเกตของเด็ก และหลังทำกิจกรรมมีการสรุปความรู้ให้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น