วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2557


อากาศ WEATHER







บันทึกอนุทินครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดี ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.
ความรู้ที่ได้รับ      
                                                                                                                           
การเขียนแผนการสอนทางวิทยาศาสตร์                                                                                                   
หน่วยปลา     สามารถแยกสอนตามวันต่างๆดังนี้
  วันแรก      ชนิดของปลา
  วันที่สอง    ลักษณะของปลา
  วันที่สาม    อาหารของปลา
  วันที่สี่        ประโยชน์ และข้อจำกัด
  วันที่ห้า      การประกอบอาหาร

                                               
  ขั้นนำ           ร้องเพลงเกี่ยวกับปลา ครูสอนเด็กร้องรอบแรก รอบถัดไปครูและเด็กร้องร่วมกัน เมื่อร้องเพลงเสร็จ ครูตั้งคำถามกับเด็กเกี่ยวกับเพลงปลาที่เด็กร้องไปเพื่อนนำเข้าสู่ขั้นการสอน แล้วสรุปความรู้ที่เด็กตอบมา เป็น Mind Map                                                                                                                      
 ขั้นสอน        สอนเด็กตามเนื้อหาในแต่ละวัน    ฝึกให้เด็กได้ใช้ทักษะการสังเกต การเปรียบเทียบ การทดลอง การจำแนกประเภท  โดยเขียนความรู้เป็นแผนภูมิความคิดให้เด็กได้ดู
ขั้นสรุป         สรุปความรู้จากแผนภูมความคิดให้ในแต่งละวัน และประเมินพัฒนาการของเด็กจากการสังเกตการทำกิจกรรมของเด็ก    
                                                                                                  
  การทดลองทางวิทยาศาสตร์
  -การกำหนดปัญหา   
 -การตั้งสมมติฐาน  
 - การรวบรวมข้อมูล   
 -การสรุป                            
                                                                           
   การประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน
   -การเขียนแผนจะต้องเขียนให้ตรงกับเรื่องที่สอนเด็ก     
 -การเขียนแผนการสอนเพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์ต้องให้เด็กได้ทำการทดลอง กับของเล่นและสื่อต่างๆทางวิทยาศาสตร์                                                                                                                                 
 -การเขียนแผนการสอน ต้องมีขั้นนำเข้าสู่บทเรียน อาจจะเป็นเพลง เกม หรือคำคล้องจองก็ได้            
-การสอนเพื่อส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้                              
-การส่งเสริมความรู้ทางวิทยาศาสตร์ต้องพัฒนาเด็กตามคุณลักษณะตามวัยของเด็กด้วย
-การจัดประสบการณ์อาจจะจัดในรูปแบบของมุมการศึกษา จะเป็นมุมวิทยาศาสตร์ก็ได้       
       
  การประเมินการเรียนการสอน
  การประเมินตนเอง
   เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย  เตรียมแผนการสอนมาเพื่ออภิปรายร่วมกับเพื่อนในกลุ่ม วางแผนการจัดการเรียนการสอนร่วมกับเพื่อน มีการเสนอความคิดเห็นในการวางแผนทำสำหรับการสอนในแต่งละวัน                                                                                                  
   การประเมินเพื่อน
    เข้าเรียนตรงต่อเวลา    นำแผนการสอนเพื่อส่งเสริมวิทยาศาสตร์มาอภิปรายร่วมกันในกลุ่ม สำหรับส่งเสริมประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยตามคุณลักษณะตามวัย                                           
การประเมินครูผู้สอน
  อภิปราย ให้คำแนะนำกับนักศึกษา เกี่ยวกับการเลือกเรื่องที่จะสอนในแต่ละวัน ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย  การสอนวิทยาศาสตร์สามารถบูรณการเข้ากับวิชาอื่นได้ การสอนวิทยาศาสตร์ต้องมีการทดลอง เพื่อให้เด็กสังเกต และเกิดทักษะทางวิทยาศาสตร์   

                          

วันอาทิตย์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2557


บันทึกอนุทินครั้งที่ 9

วันพฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.

การนำเสนอสื่อทางวิทยาศาสตร์

อุปกรณ์ -ขวดน้ำ  Bottle

              -กรรไกร Scissors

              -กาว Glue

              -เทปกาว Relate

             -ไหมพรม Yarn

             -น้ำ Water

            -สีผสมอาหาร Food coloring

ขั้นตอนการทำสื่อ

-นำขวดน้ำทั้งสองขวดที่เตรียมไว้ มาทำความสะอาดแล้วปิดฝาขวดให้แน่น

-เจาะรูตรงกลางของฝาขวดน้ำทั้งสองขวด ให้ตรงกัน

-ใส่น้ำที่ผสมสีอาหารแล้ว เทลงในขวดประมาณ ¼ ของขวด

-ทากาวตรงฝาขวดน้ำทั้งสองข้าง แล้วประกบให้แน่น

-นำเทปกาวมาติดรอบฝาขวดตรงที่ติดกาว พันให้แน่น แล้วตกแต่งด้วยไหมพรม

                   


จากสื่อ เด็กจะได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์

-แรงโน้มถ่วง คือการไหลของน้ำ จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ

-แรงดันอากาศ เมื่อพลิกขวดน้ำ น้ำจะไหลลงมาสู่ขวดด้านล่าง พอน้ำไหลลง จะเกิดฟองอากาศ ดันตัวขึ้นสู่ขวดด้านบน

-เด็กจะได้ทักษะ ในการสังเกต การสังเกตการแทนที่ของน้ำและอากาศ เมื่อน้ำไหลลง อากาศจะขึ้นมาแทนที่ของน้ำ

การนำความรู้มาประยุกต์ใช้

-การทำสื่อทางวิทยาศาสตร์  เด็กจะต้องเล่นได้จริง แข็งแรง ทนทาน และปลอดภัย

-สื่อทางวิทยาศาสตร์ ครูอาจนำวัสดุเหลือใช้มาทำสื่อแทนการซื้อแบบสำเร็จรูป เพื่อให้เด็กรู้จักการนำวัสดุที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นต่างๆ และใช้สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้

-การทำสื่อทางวิทยาศาสตร์ มุ่งให้เด็กรู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว และสื่อที่เด็กเรียนรู้ต้องฝึกให้เด็กได้คิดตาม

-การทำสื่อทางวิทยาศาสตร์ จะต้องมีความหลากหลาย

-เมื่อเด็กเล่นเสร็จ ครูจะต้องมีการสรุปความรู้ให้เด็กด้วย

การประเมินการเรียนการสอน

ประเมินตนเอง

เข้าเรียนตรงต่อเวลา  แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจฟังการนำเสนอสื่อจากเพื่อนคนอื่น มีความพร้อมในการนำเสนอสื่อ รับฟังคำชี้แนะจากครูผู้สอน และนำมาปรับใช้

การประเมินเพื่อน

เข้าเรียนตรงต่อเวลา นำเสนอสื่อได้ดี อาจจะมีซ้ำกันบ้าง แต่งก็ตกแต่ง และทำจากสื่อที่แตกต่างกัน มีการทดลองในห้องให้เพื่อนสังเกตด้วย

ประเมินครูผู้สอน

ตรงต่อเวลาทุกครั้งที่มีการเรียนการสอน ให้คำแนะนำในการทำสื่อและการทดลองสื่อให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจ แนะนำการทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้ การบูรณาการเข้ากับการเล่นอื่น และการทำสื่อต้องมีความแข็งแรง และปลอดภัยกับเด็ก



บันทึกอนุทินครั้งที่ 8

วันพฤหัสบดี ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.

                          สัปดาห์นี้เป็นสัปดาห์แห่งการสอบกลางภาค ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ขอให้ทุกคนโชคดี

วันเสาร์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทินครั้งที่ 7

วันพฤหัสบดี ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:3012:20น.

ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรม เป็ดน้อยลอยฟ้า

อุปกรณ์ 1 แกนกระดาษทิชชู

              2 กระดาษ Paper

              3 ไหมพรม Yarn

              4 กาว Glue

              5 กรรไกร Scissors

              6 ที่เจาะกระดาษ

ขั้นตอนการทำ

1 นำแกนทิชชูมาตัดครึ่ง

2 เจาะรูตรงกึ่งกลางของทิชชูทั้งสองข้าง

3 นำกระดาษที่เตรียมไว้ตัดเป็นวงกลมให้พอดีกับแกนทิชชู

4 วาดรูลงในกระดาษแล้วตกแต่งให้สวยงาม แล้วทากาว ติดลงทิชชู

นำไหมพรใร้อยตรงรูทั้งสองข้างล้วมัดให้เรียบร้อย

                       




เทคนิคการสอน

-การใช้คำถามปลายเปิด

-การเรียนรู้ด้วยตนเอง

-การประดิษฐ์สื่อและของเล่นทางวิทยาศาสตร์

-การใช้เทคโนโลยีเป็นสื่อในการเรียนรู้

การอภิปราย หลังกิจกรรม

 

ความรู้ที่ได้จากการนำเสนอบทความ

            


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

-นำความรู้ที่ได้ไปกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

-สอนเด็กๆทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้ได้

 

การประเมินการเรียนการสอน

การประเมินตนเอง

 -เข้าเรียนตรงต่อเวลา, แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

 -ทำกิจกรรมเป็ดน้อยลอยฟ้าได้  

-จดบันทึกความรู้จากที่เพื่อนนำเสนอ และครูสอนได้

- นำเสนอบทความ สอนลูกเรื่องอากาศได้และมีความตื่นเต้นเล็กน้อย

การประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา ทำกิจกรรมที่ครูสอนได้

 -ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนองาน

-สนุกสนานในขณะที่ทำกิจกรรมและทดลองกับสื่อที่ตนเองทำ

การประเมินครูผู้สอน

 -เข้าสอนตรงต่อเวลา, พูดจาไพเราะ ให้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน และเข้าใจ

 -สอนการทำสื่อ จากวัสดุเหลือใช้ โดยให้วาดภาพตามความสนใจ ที่มีวิธีการทำที่ง่าย

-มีคำถามเพื่อทดสอบทักษะการคิด และอธิบายขยายความบทความที่เพื่อนนำเสนอได้
 
                    




วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557




บันทึกอนุทินครั้งที่ 6

วันพฤหัสบดี ที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2557

เรียนเวลา 08:30 12:20น.

ความรู้ที่ได้รับ

                                                กิจกรรม กังหันกระดาษ (Turbine Paper)

อุปกรณ์        กระดาษ( Rectangle Paper)

                     คลิปหนีบกระดาษ ( Paper Clip )

ขั้นตอนการทำ     1. ตัดกระดาษเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า

                            2. พับครึ่งของกระดาษ

                            3, ตัดกระดาษจากปลายตรงกึ่งกลางเข้ามาจนถึงครึ้ง

                           4. ตกแต่ง ระบายสีให้สวยงาม

                                   




สิ่งที่ได้รับจากการกิจกรรม

            -การสังเกต (observation)

            -การเกิดแรงโน้มถ่วง (the gravity)

           -แรงต้านทาน (reststance)

            -การหมุน (rotation)

             -การทดลอง (trials)

ความรู้จากการนำเสนอบทความ
 
            
 
การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

-นำความรู้ที่ได้ไปจัดประสบการณ์ให้เด็กได้

-การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ให้กับเด็ก เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ได้

-เด็กได้ทักษะต่างๆเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ หลังจากกิจกรรม

การประเมินการเรียนการสอน

การประเมินตนเอง

 -เข้าเรียนตรงต่อเวลา, แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

 -ทำกิจกรรมกังหันกระดาษได้ และเก็บเศษขยะที่ตกตามพื้นเพื่อความสะอาด

-จดบันทึกความรู้จากที่เพื่อนนำเสนอ และครูสอนได้

การประเมินเพื่อน

-เข้าเรียนตรงต่อเวลา ทำกิจกรรมกังหันกระดาษที่ครูสอนได้

 -ตั้งใจเรียนและฟังเพื่อนนำเสนองาน

-สนุกสนานในขณะที่ทำกิจกรรม กระดาษหมุน

การประเมินครูผู้สอน

 -เข้าสอนตรงต่อเวลา, พูดจาไพเราะ ให้แนวทางในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ได้ชัดเจน และเข้าใจ

 -สอนการทำสื่อ จากเศษกระดาษ กังหันกระดาษ ที่มีวิธีการทำที่ง่าย

-มีคำถามเพื่อทดสอบทักษะการคิด และอธิบายขยายความบทความที่เพื่อนนำเสนอได้