การนำเสนอบทความ
การสอนลูกเรื่องอากาศ (Teaching
Children about weather)
หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้ถึงส่วนผสมของก๊าซต่างๆและไอน้ำ
รู้คุณสมบัติของอากาศว่าไม่มีสี ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น
ก๊าซที่มีอยู่มากและจำเป็นต่อสิ่งที่มีชีวิตคือก๊าซออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศรอบๆตัวเราทุกหนทุกแห่ง
อากาศมีอยู่ในบ้านและบริเวณ มีอยู่ในโรงเรียน บริเวณรอบโรง เรียน กลางป่า เขา
ชายทะเล แม่น้ำ น้ำตก สวน และอื่นๆ
การสอนเรื่องอากาศ
-อากาศเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของคนเรา
อยู่กับคนเราตลอดเวลา เพราะเราใช้อากาศหายใจ หากขาดอากาศหายใจก็เสียชีวิตทันที
สำหรับเด็กปฐมวัย เขาจะเริ่มสังเกตจากความจริงของชีวิตว่า
เขามีสิ่งหนึ่งเข้าออกผ่านช่องจมูก เมื่อ -เด็กสัมผัสอากาศตลอดเวลา
ผ่านผิวหนังที่ทำให้เขาเกิดความรู้สึก ร้อน หนาว อุ่น สบาย
และจะหลับสนิทเมื่ออยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิพอเหมาะกับความต้องการของร่างกายของเขา
-อากาศมีอิทธิพลต่อสิ่งแวดล้อม เช่น
ลมที่พัดปกติ พัดผ่านใบไม้ๆจะไหวไปมา ต้นไม้ใบหญ้าจะลู่ตามแรงลม
เศษกระดาษปลิวไปอีกที่หนึ่งได้ ฝุ่นที่ฟุ้งกระจาย เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นได้ในโลกนี้
เพราะอากาศมีอิทธิพลส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม
-สิ่งของเครื่องใช้หลายชนิดใช้อากาศประกอบ
-เรื่องอากาศที่ดีเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ทุกคนควรรู้
และรักษาสภาพอากาศที่ดีให้เราดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพควรได้รับการปลูกฝังตั้งแต่เด็ก
จึงเป็นเรื่องควรอบรมสั่งสอนเด็กปฐมวัยด้วย
การสอนเรื่องอากาศมีประโยชน์ต่อเด็กดังนี้คือ
-เด็กได้รับการพัฒนาเจตคติแห่งความสนใจ
กระตือรือร้นเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว เพื่อใช้และรักษาธรรมชาติอย่างเหมาะสมสืบต่อไป
- เด็กจะได้เรียนข้อความ
รู้เรื่องของอากาศ เพื่อพัฒนาความคิดจากทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เด็กได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องอากาศ
ซึ่งเป็นธรรมชาติที่จำเป็นต่อชีวิต จากประสบการณ์ตรง
-เด็กจะมีความสนุก
ความสุขจากการเรียนเรื่องอากาศที่น่าเรียน ตอบข้อสงสัยในสิ่งที่มองไม่เห็น
แต่สิ่งนั้นมีอยู่ ชวนให้เด็กช่างสงสัย และคิดหาคำตอบต่อไป
-การเรียนเรื่องอากาศเป็นการส่งเสริมให้เด็กเป็นผู้มีความรู้
ความคิด มีความสนใจต่อธรรมชาติ ด้วยความสนุกและมีความสุขที่จะเรียนรู้
ครูสอนเรื่องอากาศให้ลูกที่โรงเรียนอย่างไร
-กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
ให้เด็กแสดงท่าทางตามคำบรรยาย
-กิจกรรมเสริมประสบการณ์
การจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว
อย่างมีจุดมุ่งหมาย ที่จะฝึกให้เด็กได้คิดอย่างมีเหตุผล ได้เข้าสังคม ได้ใช้ภาษา
ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ที่เน้นให้เด็กปฐมวัยเรียนรู้จากการกระทำด้วยตนเอง
ทักษะกระบวน การทางวิทยาศาสตร์
ที่เป็นกระบวนการแสวงหาความรู้ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ
ขั้นตั้งสมมติฐาน/การคาดคะเน
ให้เด็กคาดเดาว่าของเหลวที่อยู่ในหลอดแก้วจะขยับไปทางไหน ตัวเลขอะไร
เมื่อนำไปอยู่ข้างนอก ที่มีอากาศร้อน
ขั้นทดลองและเก็บข้อมูล
นำเทอร์โมมิเตอร์ไว้ข้างนอกห้องเรียนที่มีแสงแดดร้อน
ทิ้งไว้สักครู่จึงค่อยนำกลับมาในห้อง เรียน เปรียบเทียบความแตกต่าง
ครูและเด็กร่วมอภิปรายผล แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกัน
ขั้นวิเคราะห์ข้อมูลและสรุปคำตอบของสมมติฐาน
ครูและเด็กสนทนาร่วมกันว่า ผลที่เกิดขึ้นเพราะอะไร และวางแผนร่วม กันว่า
จะตรวจดูเทอร์โมมิเตอร์ที่ใช้วัดอากาศทุกวัน ต้องวางเทอร์โมมิเตอร์ไว้ในที่ร่ม
จดบันทึกอุณหภูมิที่อ่านได้
-การเรียนรู้คณิตศาสตร์ :
ครูและเด็กร่วมกันเก็บข้อมูลสภาพอากาศ ลงในปฏิทินแสดงสภาพอากาศประจำวันอย่างน้อย 1 เดือน แล้วนำมาทำแผนภูมิสภาพอากาศ
การทำปฏิทินแสดงสภาพอากาศแบบง่าย
- การเรียนรู้ภาษา เด็กเล่าเรื่องเทอร์โมมิเตอร์
อากาศ ร้อน เย็น ลม คำเล่านี้เป็นคำศัพท์ใหม่สำหรับเด็ก ครูช่วยบันทึกคำ ประโยต
ให้เด็กทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศ ที่เลือกให้เด็กเรียนรู้ เช่น
เทอร์โมมิเตอร์ (thermometer) ลม (wind)
อากาศ (weather) ร้อน (hot) เย็น (cold)
-กิจกรรมสร้างสรรค์ กลุ่มงานประดิษฐ์
ให้เด็กๆช่วยกันทำพวงแขวนจากกระดาษหนังสือพิมพ์ ทำเป็นรูปก้อนเมฆ ประกบกันเป็นคู่
ทากาว ภายในอัดเศษกระดาษ กลางก้อนเมฆ เพื่อทำให้ก้อนเมฆนูน ป่องสวยงาม
แขวนกับไม้แขวนเสื้อ แล้วนำไปแขวนที่ระเบียง หรือหน้าต่าง ให้เด็กเฝ้าสังเกตก้อนเมฆที่แกว่งไปมาเพราะลมพัดผ่าน
- กิจกรรมกลางแจ้ง เล่นเกม ลมพัด
กำหนดเป็นคำสั่ง หากครูพูดว่า ลมพัดไปทางนั้น
ให้เด็กๆวิ่งรอบๆต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งที่อยู่ใกล้ๆลานที่เล่น แต่ถ้าครูพูดว่า
ลมพัดมาทางนี้ ให้เด็กๆวิ่งมาเข้าวงกลมที่ครูขีดเส้นไว้
-กิจกรรมเสรี ครูจัดมุมการเรียนรู้
เพิ่มพูนความรู้ และสนับสนุนการเล่น
เพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองให้แก่เด็กเรื่องอากาศ ได้หลายมุม เช่น มุมดนตรี
เปิดเทปเพลงลม
มุมหนังสือ
จัดหาหนังสือเรื่องเกี่ยวกับอากาศ มาให้เด็กๆได้อ่าน
ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา
เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น