บันทึกอนุทินครั้งที่ 9
วันพฤหัสบดี ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557
เรียนเวลา 08:30 – 12:20น.
การนำเสนอสื่อทางวิทยาศาสตร์
อุปกรณ์
-ขวดน้ำ Bottle
-กรรไกร
Scissors
-กาว Glue
-เทปกาว Relate
-ไหมพรม Yarn
-น้ำ Water
-สีผสมอาหาร Food coloring
ขั้นตอนการทำสื่อ
-นำขวดน้ำทั้งสองขวดที่เตรียมไว้
มาทำความสะอาดแล้วปิดฝาขวดให้แน่น
-เจาะรูตรงกลางของฝาขวดน้ำทั้งสองขวด ให้ตรงกัน
-ใส่น้ำที่ผสมสีอาหารแล้ว
เทลงในขวดประมาณ ¼ ของขวด
-ทากาวตรงฝาขวดน้ำทั้งสองข้าง
แล้วประกบให้แน่น
-นำเทปกาวมาติดรอบฝาขวดตรงที่ติดกาว
พันให้แน่น แล้วตกแต่งด้วยไหมพรม
จากสื่อ
เด็กจะได้รับความรู้ทางวิทยาศาสตร์
-แรงโน้มถ่วง
คือการไหลของน้ำ จากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
-แรงดันอากาศ
เมื่อพลิกขวดน้ำ น้ำจะไหลลงมาสู่ขวดด้านล่าง พอน้ำไหลลง จะเกิดฟองอากาศ
ดันตัวขึ้นสู่ขวดด้านบน
-เด็กจะได้ทักษะ
ในการสังเกต การสังเกตการแทนที่ของน้ำและอากาศ เมื่อน้ำไหลลง
อากาศจะขึ้นมาแทนที่ของน้ำ
การนำความรู้มาประยุกต์ใช้
-การทำสื่อทางวิทยาศาสตร์
เด็กจะต้องเล่นได้จริง แข็งแรง ทนทาน และปลอดภัย
-สื่อทางวิทยาศาสตร์
ครูอาจนำวัสดุเหลือใช้มาทำสื่อแทนการซื้อแบบสำเร็จรูป เพื่อให้เด็กรู้จักการนำวัสดุที่เหลือใช้มาประดิษฐ์เป็นของเล่นต่างๆ
และใช้สามารถบูรณาการเข้ากับวิชาอื่นได้
-การทำสื่อทางวิทยาศาสตร์
มุ่งให้เด็กรู้จักการสังเกตสิ่งต่างๆรอบตัว
และสื่อที่เด็กเรียนรู้ต้องฝึกให้เด็กได้คิดตาม
-การทำสื่อทางวิทยาศาสตร์
จะต้องมีความหลากหลาย
-เมื่อเด็กเล่นเสร็จ
ครูจะต้องมีการสรุปความรู้ให้เด็กด้วย
การประเมินการเรียนการสอน
ประเมินตนเอง
เข้าเรียนตรงต่อเวลา
แต่งกายสุภาพเรียบร้อย มีความตั้งใจฟังการนำเสนอสื่อจากเพื่อนคนอื่น มีความพร้อมในการนำเสนอสื่อ
รับฟังคำชี้แนะจากครูผู้สอน และนำมาปรับใช้
การประเมินเพื่อน
เข้าเรียนตรงต่อเวลา
นำเสนอสื่อได้ดี อาจจะมีซ้ำกันบ้าง แต่งก็ตกแต่ง และทำจากสื่อที่แตกต่างกัน
มีการทดลองในห้องให้เพื่อนสังเกตด้วย
ประเมินครูผู้สอน
ตรงต่อเวลาทุกครั้งที่มีการเรียนการสอน
ให้คำแนะนำในการทำสื่อและการทดลองสื่อให้นักศึกษาได้ทำความเข้าใจ
แนะนำการทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้ การบูรณาการเข้ากับการเล่นอื่น
และการทำสื่อต้องมีความแข็งแรง และปลอดภัยกับเด็ก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น